ฐานการเรียนรู้ที่ 1
ชื่อฐานการเรียนรู้
พัฒนาความรู้ คู่ความคิด เพื่อชีวิตที่พอเพียง
กิจกรรม โครงงานวิทยาศาสตร์
ที่ตั้งฐานการเรียนรู้ บริเวณฐานเรียนรู้บูรณาการ พัฒนาความรู้ คู่ความคิด เพื่อชีวิตที่พอเพียง อาคารโนนจหมื่น
ชื่อครูวิทยากรประจำฐาน
1.
นางจุลจิรา ทาสระคู
2. นางประกอบ สิงห์โตทอง
3.
นายวีระ ศรีสมุทร
4. นายธีรพงศ์ เสนาวงศ์
5.
นายจักรี เชิงหอม
6.
นางผุสดี สิงห์ทอง
7.
นางทองลิ้ม กองอุดม
8.
นายเด่น อุดม
9.
นายจำนงค์ จิตฤทธิ์
10. นางสาวอัจฉรา
นันเจริญ
11. นายวีรยุทธ
หยุดยั้ง
12. นางจิราพร
คนตรง
13. นางสาววงเดือน สมภูงา
14.
นายภูวนันท์
ศรีเมือง
15.
นายศรีรัตน์
สนสี
16.
นางวรนิพิฎ
ศิริจันทร์
17.
นางกัลยา
สุเมตร
18.
นางสาววิชชุดา
มณีกัณ
19.
นางสาวจตุพร
สอนสนาม
20.
นางนิตินุช เสนาวงศ์
21.
นางกัญณิชา
หินทอง
22.
นางสาวอัมพร
กมลเลิศ
นักเรียนวิทยากรประจำฐาน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ตามแนวโครงการพระราชดำริของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
2. เพื่อเป็นศูนย์รวมข้อมูลให้นักเรียนและผู้สนใจได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดกระบวนคิดวิเคราะห์
คิดสังเคราะห์ อย่างเป็นระบบ
4. เพื่อส่งเสริมการนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างสร้างสรรค์
ประโยชน์ที่ได้รับ
เป็นแหล่งเรียนรู้ที่ผู้ศึกษาได้เข้าศึกษา แบบครบวงจร ศึกษาทฤษฎี ฝึกคิด ฝึกปฏิบัติ และนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวัน
วิธีใช้ฐานการเรียนรู้
1. วิทยากรทักทายผู้เข้าศึกษาฐานการเรียนรู้และแนะนำตัวเอง แนะนำชื่อฐานการเรียนรู้ พัฒนาความรู้ คู่ความคิด เพื่อชีวิตที่พอเพียง/กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์
2. วิทยากรให้ผู้เข้าศึกษาฐานการเรียนรู้ ดังนี้
- ศึกษาเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- ศึกษาความรู้เกี่ยวกับกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ จากป้ายนิเทศในฐานการเรียนรู้
-
ศึกษาเรียนรู้จากสื่อประกอบการเรียนรู้
- วิทยากรประจำฐานการเรียนรู้นำเสนอข้อมูล
-
ผู้ศึกษา สังเกต เก็บข้อมูล และจดบันทึก
- ซักถาม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับวิทยากรประจำฐานและผู้ศึกษาดูงาน
-
ร่วมกันถอดบทเรียนความสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในฐานพัฒนา
ความรู้ คู่ความคิด
เพื่อชีวิตที่พอเพียง/กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์ ร่วมกันสรุปและบันทึก
สาระความรู้ที่ได้ลงในสมุดบันทึก
-
ครูผู้รับผิดชอบประจำฐานและนักเรียนแกนนำประเมินผลการเรียนรู้
ขั้นสอน
3. วิทยากรถ่ายทอดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยนำแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
(2
เงื่อนไข 3 หลักการ 4 มิติ
)
4. ให้ผู้เข้าศึกษาฐานการเรียนรู้ แต่ละคนศึกษาโครงงานวิทยาศาสตร์ จากแผ่นพับ /
ใบความรู้ แบ่งกลุ่มรับใบกิจกรรม
และลงมือทำกิจกรรมในใบกิจกรรมที่แจกให้
5. วิทยากร สุ่มโดยวิธีจับสลากผู้เข้าศึกษาฐานการเรียนรู้
1 – 2 กลุ่ม นำเสนอผลงาน
ขั้นสรุป
6.
วิทยากรและผู้เข้าศึกษาฐานการเรียนรู้ร่วมกันสรุปกิจกรรมด้วยการใช้คำถามสะท้อนคิด
การเรียนรู้ ด้วยคำถาม RCA
R-Reflect
1) รู้สึกอย่างไรบ้างที่ได้เข้ามาศึกษาในฐานการเรียนรู้
C - Connect
1) เคยมีความรู้
เกี่ยวกับ แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรือไม่ อย่างไร
2) เคยเรียนรู้เกี่ยวกับการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเขียนเป็นเรื่องราวถ่ายทอดให้ผู้อื่นอ่านบ้าง หรือไม่
3)
ที่ผ่านมาเศรษฐกิจพอเพียงส่งผลอย่างไรต่อตนเองและผู้อื่น
A - Apply
7. ให้ผู้เข้าศึกษาฐานการเรียนรู้ พัฒนาความรู้ คู่ความคิด เพื่อชีวิตที่พอเพียง สรุปความรู้ในการเข้าฐานการเรียนรู้
ลงในกระดาษเอ 4 (ผังความคิด ภาพวาด) ตามประเด็น ดังนี้
- เราได้แนวคิดจากการเรียนรู้ในฐานการเรียนรู้ พัฒนาความรู้ คู่ความคิด เพื่อชีวิตที่พอเพียงไปประยุกต์
ใช้ในชีวิตประจำวันอย่างไร
8. ผู้เข้าศึกษาฐานการเรียนรู้ นำผลงานของกลุ่มและของตนเอง ไปแสดงผลงานในฐานการเรียนรู้
สื่อ/อุปกรณ์
1. ใบความรู้ เรื่อง แนวคิดตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2-3-4
2. ใบความรู้เกี่ยวกับการเขียนโครงงานและเค้าโครงโครงงาน
3. ใบความรู้เกี่ยวกับ ไซรัปผลไม้
4. ใบความรู้เกี่ยวกับพืชที่มีสมบัติลดความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสก่อโรค
Covid
- 19
5. กิจกรรมการเรียนรู้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์
6. กิจกรรมการทดสอบความรู้เกี่ยวกับโครงงานวิทยาศาสตร์
7. แบบบันทึกการเรียนรู้ถอดบทเรียนฐานการเรียนรู้
พัฒนาความรู้ คู่ความคิด เพื่อชีวิตที่พอเพียง
8. ดินสอ
ยางลบ ปากกาเมจิก
9. สีไม้
10. กระดาษเอ 4 สี
11. ปากกา
ผลผลิต/ชิ้นงาน
1. ผลงานกลุ่ม
- การเขียนนำเสนอข้อมูลที่ได้ในรูปแบบต่างๆ
ตามจินตนาการ ( แผ่นพับ , ภาพวาด )
2. ผลงานรายบุคคล
- สรุปความรู้ในการเข้าฐานการเรียนรู้ พัฒนาความรู้
คู่ความคิด เพื่อชีวิตที่พอเพียง
(ผังความคิด,ภาพวาด)
การวัดและประเมินผล
1. สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
(แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม)
2. ประเมินชิ้นงาน (เกณฑ์การประเมินผังความคิด)
ภาพกิจกรรมการใช้ฐานการเรียนรู้
ภาพกิจกรรมการใช้ฐานการเรียนรู้จากโรงเรียนเครือข่าย
ที่มาฐานการเรียนรู้
ชื่อฐานการเรียนรู้ พัฒนาความรู้ คู่ความคิด
เพื่อชีวิตที่พอเพียง
กิจกรรม โครงงานวิทยาศาสตร์
สาระเคมี
มาตรฐานการเรียนรู้/ผลการเรียนรู้(สาระเพิ่มเติม)
2. เลือก และใช้อุปกรณ์หรือเครื่องมือในการทำปฏิบัติการ
และวัดปริมาณต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม
3. นำเสนอแผนการทดลอง
ทดลองและเขียน รายงานการทดลอง
สาระการเรียนรู้
• อุปกรณ์และเครื่องมือชั่ง ตวง
วัดแต่ละชนิดมีวิธีการใช้งานและการดูแลแตกต่างกัน ซึ่งการวัดปริมาณต่าง ๆ
ให้ได้ข้อมูลที่มีความเที่ยงและความแม่นในระดับนัยสำคัญที่ต้องการ ต้องมีการเลือกและใช้อุปกรณ์ในการทำปฏิบัติการอย่างเหมาะสม
• การทำปฏิบัติการเคมีต้องมีการวางแผนการทดลอง การทำการทดลอง การบันทึกข้อมูลสรุปและวิเคราะห์นำเสนอข้อมูล และการเขียนรายงานการทดลองที่ถูกต้องโดยการทำปฏิบัติการเคมีต้องคำนึงถึงวิธีการทางวิทยาศาสตร์ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และจิตวิทยาศาสตร์
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
1. ความสามารถในการสื่อสาร
2.
ความสามารถในการคิด
3. ทักษะการคิดวิเคราะห์
4. ทักษะการสำรวจค้นหา
5. ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
คุณลักษณะอันพึงประสงค์
1.
ใฝ่เรียนรู้
2.
อยู่อย่างพอเพียง
3.
มุ่งมั่นในการทำงาน
4.
รักความเป็นไทย
ผลงานที่ภาคภูมิใจ
ความรู้ที่ได้จากฐานการเรียนรู้
ศาสตร์พระราชา
- การศึกษาข้อมูลให้เป็นระบบ
-
ภูมิสังคม ภูมิศาสตร์ สังคมศาสตร์
-
ทำงานแบบองค์รวม
-
รู้จักประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด
-
ทำให้ง่าย
- การมีส่วนร่วม
-
บริการที่จุดเดียว
ศาสตร์ท้องถิ่น
การนำเสนอประโยชน์และความสำคัญของพืชและวัสดุในท้องถิ่นที่นำมาศึกษาจนค้นพบความรู้
ศาสตร์สากล
การนำเสนอประโยชน์ของพืชและวัสดุในท้องถิ่นและเผยแพร่เป็นความรู้สู่ชุมชนเพื่อให้เกิดความรู้ที่ยั่งยืนตลอดไป
ความสอดคล้องกับการทรงงาน
ศึกษาข้อมูลอย่างเป็นระบบ
ทรงศึกษาข้อมูลรายละเอียดอย่างเป็นระบบจากข้อมูลเบื้องต้น ทั้งเอกสาร
แผนที่ สอบถามจากเจ้าหน้าที่นักวิชาการ
และราษฎรในพื้นที่ให้ได้รายละเอียดที่ถูกต้อง
เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้ประโยชน์ได้จริงอย่างถูกต้องรวดเร็ว และตรงตามเป้าหมาย
ภูมิสังคม
มิศาสตร์ สังคมศาสตร์
ก่อนจะทำการพัฒนาเรื่องใดในองค์การหรือหน่วยงาน
ท่านต้องคำนึงถึงภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์และภูมิประเทศทางสังคมศาสตร์ของพื้นที่ที่ท่านจะทำการพัฒนาก่อน
โดยต้องทำการศึกษาลงไปในรายละเอียดเพื่อให้เข้าใจถึงหลักการทางสังคมวิทยา
วัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณีแบบดั้งเดิมที่มีอยู่เดิมของบุคคลในแต่ละกลุ่มในพื้นที่เป็นอย่างไรบ้าง
และในแต่ละพื้นที่ที่จะทำการพัฒนานั้นมีความเหมือน คล้ายคลึง
หรือแตกต่างกันอย่างไร หลังจากนั้นจึงนำทั้งข้อดีและข้อเสียของข้อมูลที่ได้มาจากสภาพโดยรอบมาทำการวิเคราะห์/สังเคราะห์
แยกแยะเอาสิ่งที่ดีและสิ่งที่ไม่ดีออกมา
เพื่อนำหลักการและวิธีการใหม่ที่ดีเข้าไปพัฒนาและแก้ไขปรับปรุง
ทำงานแบบองค์รวม
ก่อนที่พระองค์จะทรงจัดทำโครงการใด ๆ
พระองค์จะทรงมองภาพโครงการของพระองค์แบบองค์รวมอย่างรอบด้านว่า
โครงการของพระองค์มีความเกี่ยวพันหรือเชื่อมโยงกับอะไรบ้าง
ประหยัด
เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด
หลักการทรงงานข้อนี้พระองค์ทรงทำให้ประชาชนของพระองค์ดูเป็นแบบอย่างมาโดยตลอด
ทั้งนี้ในการทำโครงการพระราชดำริของพระองค์หรือการให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาของประชาชน
ทรงนำหลักการ “ประหยัด เรียบง่าย ได้ประโยชน์สูงสุด” เข้ามาใช้ ด้วยการจัดหาวัสดุ
สิ่งของ ที่สามารถหาได้ในท้องถิ่นของภูมิภาคนั้นมาประยุกต์ใช้
โดยไม่ต้องลงทุนสูงหรือต้องไปซื้อหามาจากต่างประเทศ
รวมถึงการใช้เทคโนโลยีก็จะไม่ทรงเลือกใช้เทคโนโลยีที่ยุ่งยากซับซ้อน
แต่จะทรงเลือกใช้เทคโนโลยีที่เรียบง่าย สะดวก
เหมาะสมกับการนำมาใช้งานในท้องถิ่นนั้น ๆ
ทำให้ง่าย
ทรงทำการประดิษฐ์คิดค้น
และพัฒนาประเทศด้วยโครงการพระราชดำริต่าง ๆ
เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนและปัญหาปากท้องของประชาชนในถิ่นทุรกันดารนั้น
พระองค์จะทรงดำเนินการในรูปแบบที่เรียบง่าย ไม่ยุ่งยากซับซ้อน
เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพความเป็นอยู่ของประชาชนและระบบนิเวศที่มีอยู่
การมีส่วนร่วม
พระองค์ทรงเป็นนักประชาธิปไตย
ทรงนำหลักการ “ประชาพิจารณ์” มาใช้ในการบริหารงาน/บริหารโครงการของพระองค์เสมอ
เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชน เจ้าหน้าที่
และสาธารณชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการขับเคลื่อนแต่ละโครงการ ซึ่งพระองค์จะทรงรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและความต้องการของสาธารณชน
ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้โครงการต่างๆ
ของพระองค์ล้วนสามารถแก้ไขปัญหาความยากจนและตอบโจทย์ของปัญหาที่ทำให้ประชาชนของพระองค์ได้รับความเดือดร้อนได้อย่างตรงจุดและตรงความต้องการอยู่เสมอ
ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2:3:4)
การนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การจัดการเรียนรู้
ผู้สอน
ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ต่อไปนี้
เงื่อนไขความรู้ - การทำโครงงาน - วิธีการทำงานร่วมกับผู้อื่น - นักเรียนมีความรู้ในทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และกระบวนการแสวงหา ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ |
|||||
เงื่อนไขคุณธรรม
- ความมีวินัยในตนเอง
ความรับผิดชอบ - มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ - รักความเป็นไทย มีจิตสาธารณะ |
|||||
หลักความพอประมาณ |
หลักมีเหตุผล |
หลักสร้างภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี |
|||
1. แบ่งเวลาได้เหมาะสมกับกิจกรรมและภาระงาน 2. ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการทำอย่างคุ้มค่าและประหยัด 3.
ฝึกการทำงานได้เหมาะสมกับความสามารถของตน |
1. การแบ่งเวลา
ภาระหน้าที่ ทำให้ปฏิบัติหน้าที่ได้ครบถ้วน 2. เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างประหยัดและคุ้มค่า 3. นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ |
1. บทบาทหน้าที่ที่เหมาะสม
ทำให้ปฏิบัติกิจกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เกิดความตระหนักนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติ 3. รักความเป็นไทยและวัฒนธรรมประเพณี |
|||
เป้าหมายสมดุลและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงใน
4 มิติ |
|||||
ด้านวัตถุ |
ด้านสังคม |
ด้านสิ่งแวดล้อม |
ด้านวัฒนธรรม |
||
- ได้แผ่นพับแนะนำความรู้จากโครงงาน - ได้ผลผลิตจากการทำโครงงาน นำไปจำหน่ายเพื่อเพิ่มรายได้ |
- เกิดการรู้จักพึ่งพากัน ช่วยเหลือกัน และทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
การทำงานกลุ่ม - การสร้างเครือข่าย |
- รักและทำนุบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อม พืชและวัสดุสำคัญในท้องถิ่นของตนเอง |
- เกิดความภาคภูมิใจ - เห็นคุณค่าของพืชและวัสดุในท้องถิ่นของตนเองและสามารถนำมาใช้ประโยชน์และเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน |
||
การนำไปประยุกต์ใช้
1. การประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
-
นำองค์ความรู้ที่ได้จากกิจกรรมไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม
-
นำความรู้ไปประยุกต์ใช้และดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง
2. การประยุกต์ใช้ในภารกิจตามหน้าที่
นำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนรู้และบูรณาการสาขาวิชาอื่น
ๆ
ใบความรู้เกี่ยวกับการเขียนโครงงานและเค้าโครงโครงงาน
ความหมายของโครงงาน
โครงงาน หมายถึง การศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่นักเรียนเป็นผู้ศึกษาค้นคว้าและลงมือปฏิบัติด้วยตนเองโดยอาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
ภายใต้คำแนะนำปรึกษาและดูแลของครูอาจารย์ที่ปรึกษา
โดยอาจใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ ช่วยในการศึกษา
เพื่อให้การศึกษาค้นคว้านั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์มีผลในการพัฒนาทักษะ
กระบวนการทางวิทยาศาสตร์การสร้างเสริมเจตคติทางวิทยาศาสตร์
ประเภทของโครงงาน
โครงงานสามารถแบ่งตามลักษณะของกิจกรรมได้ 4 ประเภท
ดังนี้
1. โครงงานประเภทสำรวจ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล
เพื่อหาสาเหตุของปัญหาหรือสำรวจความคิดเห็นโดยใช้วิธีสำรวจและรวบรวมข้อมูลแล้วนำข้อมูลที่ได้มาแก้ไขปรับปรุงร่วมกัน
เช่น โครงงานสำรวจคำที่มักเขียนผิด โครงงานสำรวจคำทับศัพท์ในหนังสือพิมพ์
โครงงานสำรวจคำคมท้ายรถ เป็นต้น
2. โครงงานประเภททดลอง
เป็นการศึกษาหาคำตอบของปัญหาใดปัญหาหนึ่งเพื่อศึกษาผลการทดลองว่าเป็นไปตามที่ตั้งสมมติฐานไว้หรือไม่
การทำโครงงานประเภทนี้เริ่มจากการตั้งปัญหา การออกแบบการทดลองและดำเนินการทดลอง
เช่น โครงงานการทดลองธูปสมุนไพรไล่ยุง โครงงานทดลองปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน
โครงงานทดลองปลูกพืชผักสวนครัวโดยไม่ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
เป็นการศึกษาเพื่อคิดค้นหรือพัฒนาชิ้นงานให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น
มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
เพื่อใช้แก้ปัญหาหรือพัฒนาทักษะให้บรรลุวัตถุประสงค์โครงงานประเภทนี้อาจเป็นการประดิษฐ์สิ่งใหม่
หรือการปรับปรุงของเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นก็ได้ เช่น
โครงงานการประดิษฐ์กระเช้าดอกไม้จากหนังสือพิมพ์ โครงงานประดิษฐ์กังหันวิดน้ำในแปลงเกษตร
เป็นต้น
4. โครงงานประเภททฤษฎี
เป็นโครงงานที่เสนอทฤษฎีหลักการหรือแนวคิดใหม่ๆ
ในการอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งอย่างมีเหตุผล โดยผู้จัดทำได้ตั้งกติกาหรือข้อตกลง
อาจใช้กติกาหรือข้อตกลงเดิมมาอธิบายในแนวใหม่ เช่น การนำความร้อนด้วยคอมพิวเตอร์
การกำเนิดของแผ่นดินไหวในประเทศไทย เป็นต้น
ประโยชน์ของการทำโครงงาน
1.
คิดเป็น ปฏิบัติได้จริง
และแก้ปัญหาจากเรื่องที่สนใจโดยฝึกให้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเองได้
2.
มีส่วนร่วมในการเลือกและกำหนดวิธีการเรียนรู้ซึ่งจะช่วยเพิ่มแรงจูงใจให้นักเรียน
4. เป็นการส่งเสริมให้นักเรียนได้คิดอย่างอิสระ
มีการพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
5. ได้สำรวจตนเองและความเชื่อมั่นในทักษะต่างๆ ที่ถนัด เพื่อพัฒนาเป็นทักษะชีวิตต่อไป
ขั้นตอนของการทำโครงงาน
1.
เลือกหัวข้อเรื่องหรือปัญหาที่จะศึกษา ควรมีความเฉพาะเจาะจงและชัดเจน
ชี้ชัดว่าจะศึกษาสิ่ง
ใดหรือตัวแปรใด
การกำหนดหัวข้อโครงงานนั้นควรคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้
- ความเหมาะสมของระดับความรู้ ความสามารถของผู้เรียน
- วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
- งบประมาณ
- ระยะเวลา
- ความปลอดภัย
- แหล่งความรู้
2. วางแผนในการทำโครงงาน
รวมถึงการเขียนเค้าโครงของโครงงานเพื่อให้ดำเนินไปอย่างรัดกุม รอบคอบและไม่สับสน แล้วนำเสนอต่อครูที่ปรึกษาเพื่อความเห็นชอบหรือปรับแก้ก่อนดำเนินงานต่อไป
3. การลงมือทำโครงงาน ประกอบด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูล การสร้างหรือประดิษฐ์
การปฏิบัติการทดลองการค้นคว้าเอกสารต่าง ๆ แล้วแต่ว่าเป็นโครงงานประเภทใดอาจมีการเพิ่มเติมจากแผนที่วางไว้
เมื่อดำเนินการทำโครงงานครบถ้วนตามขั้นตอนและได้ข้อมูลแล้ว
ควรมีการตรวจสอบด้วยการทดลองซ้ำเพื่อให้ได้ผลที่แน่นอน
หลังจากนั้นจึงวิเคราะห์ข้อมูล และสรุปผลการศึกษาค้นคว้าพร้อมทั้งอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้า
4. การเขียนรายงาน เป็นการนำเสนอผลการศึกษาค้นคว้าเป็นเอกสารเพื่ออธิบายให้ผู้อื่นทราบแนวคิดหรือปัญหาที่ศึกษา
วิธีการศึกษาค้นคว้า ผลการศึกษา ตลอดจนประโยชน์และข้อเสนอแนะต่าง ๆ
ที่ได้จากการทำโครงงาน
องค์ประกอบการเขียนรายงานโครงงาน
1. ส่วนนำ
1) ปกหน้า
ประกอบด้วย ชื่อเรื่อง ผู้ทำโครงงาน อาจารย์ที่ปรึกษา
ผลการศึกษาทั้งฉบับ
3) สารบัญ
(รวมถึงสารบัญตารางและสารบัญภาพ (ถ้ามี))
4) กิตติกรรมประกาศ
การขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง
2. ส่วนเนื้อหา โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 5 บท ดังนี้
บทที่ 1 : บทนำ ประกอบด้วยหลักการและเหตุผล
วัตถุประสงค์ขอบเขต สมมติฐานประโยชน์
บทที่ 2 : เอกสารที่เกี่ยวข้อง
เป็นเอกสารข้อมูลที่ช่วยให้เห็นภาพของปัญหาได้เด่นชัดยิ่งขึ้น
ในการเขียนควรเลือกเฉพาะเรื่องที่สำคัญและมีความสัมพันธ์กับปัญหา
บทที่ 3 : วิธีดำเนินงาน อาจเขียนเป็นตาราง
แผนผังโครงงานเพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปตามหัวข้อเรื่อง ตรงตามวัตถุประสงค์
บทที่ 4 : วิเคราะห์ข้อมูล โดยนำข้อมูลที่ได้มาจัดหมวดหมู่
จำแนกแยกแยะตามวัตถุประสงค์ของโครงงานนั้น ๆ
บทที่ 5 : สรุปผลและข้อเสนอแนะ
เป็นการอภิปรายคำตอบที่ได้จากการศึกษาค้นคว้า ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ศึกษา
รวมทั้งให้เสนอแนะ เพื่อการศึกษาโครงงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาต่อไป
3. ส่วนท้าย
1) บรรณานุกรม
เป็นเอกสารที่ใช้ค้นคว้าเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต้องการศึกษามีหลายประเภทเช่น
หนังสือ ตำรา บทความ โดยเอกสารที่นำมาอ้างอิงควรบอก
2) ภาคผนวกเป็นส่วนที่ทำให้ข้อมูลมีรายละเอียดมากขึ้น
เช่น ภาพกิจกรรม แบบสอบถาม บทสัมภาษณ์ เป็นต้น
การเขียนเรียงรายงานโครงงานต้องใช้ความรอบคอบและความละเอียด
เมื่อเขียนรายงานโครงงานเสร็จแล้วจึงมีการทบทวนสิ่งที่เขียน
อาจทบทวนด้วยตนเองหรือผู้อื่นแล้วนำข้อเสนอแนะมาปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้ผลงานที่ออกมานั้นมีคุณค่า
การเขียนเค้าโครงโครงงาน
โครงงานเป็นงานเขียนที่แสดงให้เห็นถึงการร่วมกันคิด
ร่วมกันทำงาน และร่วมกันรับผิดชอบ การเรียนรู้จากโครงงานเป็นการเรียนรู้จากการได้ลงมือปฏิบัติจริง
ทดลองจริง จากสภาพจริงที่นักเรียนต้องประสบ ช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการวางแผนงานและบริหารจัดการให้สามารถดำเนินงานทุกขั้นตอนให้ลุล่วงไปด้วยความเรียบร้อยเกิดผลสำเร็จตามเป้าหมาย
การเขียนเค้าโครงโครงงานควรประกอบไปด้วยส่วนสำคัญอย่างน้อย
8 หัวข้อ
ซึ่งทุกหัวข้อผู้ทำโครงงานต้องช่วยกันคิดและปรึกษาให้รอบคอบ พิจารณาทบทวนให้ดี
ดังนี้
1. ชื่อโครงงาน เป็นสิ่งสำคัญประการแรก
เพราะชื่อโครงการจะช่วยโยงความคิดไปยังวัตถุประสงค์ของการทำโครงงาน
การตั้งชื่อโครงงานของนักเรียนนิยมตั้งชื่อให้มีความกะทัดรัดและดึงดูดความสนใจจากผู้อ่านผู้ฟัง
สิ่งที่ควรคำนึง คือ ชื่อโครงงานควรเขียนให้กระชับ ชัดเจน
ใช้ภาษาตรงไปตรงมาไม่ให้กำกวม
2. ผู้รับผิดชอบโครงงาน
การเขียนชื่อผู้รับผิดชอบโครงงาน เพื่อให้ทราบว่าโครงงานนั้นใครเป็นผู้รับผิดชอบและสามารถติดตามได้
3. ที่มาของโครงงาน การเขียนที่มาและความสำคัญของโครงงาน
ผู้จัดทำโครงงานจำเป็นต้องศึกษาหลักการทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจศึกษา
ควรเขียนให้เข้าใจชัดเจนว่าโครงงานนี้มีเหตุผลอะไรจึงคิดทำ มีเหตุจูงใจอะไร หากได้รับความสนับสนุนจากใครหรือจากแหล่งใดควรระบุด้วย
4. จุดประสงค์ของการทำโครงงาน การกำหนดจุดมุ่งหมายปลายทางที่ต้องการ ข้อนี้สำคัญมากควรเขียนให้รัดกุมว่าในการทำโครงงานนี้ต้องการให้บรรลุอะไรบ้าง
โดยการเขียนเป็นข้อ ๆ จะทำให้เข้าใจง่าย แจ่มแจ้งและชัดเจน
5. สมมติฐานของการศึกษา
เป็นทักษะกระบวนการทางภาษาไทย ต้องให้ความสำคัญเพราะเป็นการกำหนดแนวทางในการออกแบบทดลองได้ชัดเจนและรอบคอบ
สมมติฐาน คือ การคาดคะเนคำตอบของปัญหาอย่างมีหลักและเหตุผลตามหลักการ ทฤษฎี รวมทั้งผลการศึกษาของโครงการที่ได้ทำมาแล้ว
- การคิดหัวข้อ ปรึกษาครูที่ปรึกษา
- การค้นคว้าหาข้อมูลประกอบ
- การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล
- การเก็บรวบรวมข้อมูล
- การวิเคราะห์ข้อมูล
9. เอกสารอ้างอิง คือรายชื่อเอกสารที่นำมาอ้างอิงประกอบการทำโครงงาน การเรียนรู้จากโครงงานเป็นการเรียนรู้ที่สนุกและมีความสุข สนองความต้องการและความสนใจของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี ช่วยฝึกกระบวนการทางความคิด ช่วยให้รู้จักทำและแก้ปัญหาด้วยตนเอง นับตั้งแต่การระดมความคิดเพื่อหาหัวข้อโครงงาน ตั้งชื่อโครงงานให้น่าสนใจ ไปจนถึงได้ดำเนินงานให้สำเร็จตามโครงงานที่กำหนดไว้
************************************************
ใบความรู้เกี่ยวกับ ไซรัปผลไม้
********************************************************************
ในการหาปริมาณแคลอรี่ (calorie)
******************************************
ยังสร้างรายได้เพิ่มให้กับตนเองได้
ใบความรู้เกี่ยวกับพืชที่มีสมบัติลดความเสี่ยงติดเชื้อไวรัสก่อโรค Covid -19
***********************************************************
ใบความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นสร้างศิลป์จากคณิตศาสตร์
***************************************************
ภูมิปัญญาท้องถิ่น สร้างศิลป์จากคณิตศาสตร์ การจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์
เรื่อง “ภูมิปัญญาท้องถิ่น
สร้างศิลป์จากคณิตศาสตร์”
**********เรียนรู้อย่างมีความสุข บนพื้นฐานความพอเพียง************